วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การวิจักษ์และการวิจารณ์วรรณคดี


      คือการเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งจนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดีเรื่องหนึ่งๆ ว่าเป็นงานศิลปะที่ถึงพร้อมเพียงใด มีข้อดีเด่นอย่างไร มีข้อด้อยอย่างไร มีข้อคิดที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงเพียงใด เป็นต้น ความตระหนักดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความซาบซึ้งในคุณค่าทำให้เกิดความหวงแหน อยากจะรักษาไว้ให้ดำรงเป็นสมบัติของชาติต่อไปส่วนการวิจารณ์วรรณคดี ซึ่งมีอยู่หลายระดับ ในระดับต้นๆ เป็นการบอกกล่าวความคิดเห็นส่วนตัวว่าชอบหรือไม่ชอบเรื่องที่อ่านอย่างไร บางครั้งอาจจะติชมว่าดีหรือไม่ดีด้วยแต่ผู้อ่านที่ดีจะต้องไม่หยุดอยู่เพียงนั้น   อ่านเพิ่มเติม

คำนมัสการคุณานุคุณ

      คำนมัสการคุณานุคุณ เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  อ่านเพิ่มเติม

อิเหนา ตอนศึกมึงกุหนิง

     อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา เอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

๒.๑ ความเป็นมา

๒.๒ ประวัติผู้แต่ง

๒.๓ ลักษณะคำประพันธ์     อ่านเพิ่มเติม

นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐

๑) เวตาล เป็นชื่อตัวละครตัวเอกของเรื่อง นิทานเวตาลมีหลายเรื่อง

๒) ผู้แปล พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
พระนามเดิม พระองค์เจ้ารัชนี แจ่มจรัส
นามแฝง น.ม.ส. นำมาจากพยัญชนะตัวสุดท้ายของชื่อ และนามสกุล

๓) ลักษณะการแต่ง ร้อยแก้วประเภทนิทาน มีคำประพันธ์แทรกบ้างบางตอน

๔) ที่มาของเรื่อง 
น.ม.ส. ทรงใช้นิทานเวตาลฉบับภาษาอังกฤษของเซอร์ริชาร์ด เอฟ เบอร์ ตัน เป็นหลัก
ในการเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ทรงเรียบเรียงเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑

๕) โครงเรื่องนิทานเวตาล พระวิกรมาทิตย์ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์มีปัญญาและอานุภาพ  อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

นิราศนรินทร์คำโคลง

     นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ ทราบแต่ว่าเป็นข้าราชการ ตำแหน่ง มหาดเล็กหุ้มแพรในกรมพระราชวังบวรฯ และมีผลงานที่ปรากฏนอกจากนิราศเรื่องนี้ เป็นเพลงยาวอีกบทหนึ่งเท่านั้น แต่แม้จะมีผลงานเพียงน้อยนิด แต่ผลงานของกวีท่านนี้จัดว่าอยู่ในขั้นวรรณคดี และเป็นที่นิยมอ่านกันอย่างแพร่หลาย อ่านเพิ่มเติม